ประวัติความเป็นมา

                ดุซงญอ มาจากคำสองคำคือ ‘ดุซง’ ซึ่งหมายถึง ‘สวน’ และคำว่า ‘ญอ’ หมายถึง ‘ท่าน’ ท่านในที่นี้หมายถึงเจ้าพระยาเมืองระแงะ ดุซงญอ หมายถึง สวนของเจ้าพระยาเมืองระแงะ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธหล้านภาลัย (พ.ศ.๒๓๕๒ – ๒๓๖๗ ) เกิดความไม่สงบบ่อยครั้ง ดังนั้นจึงโปรดเกล้าฯให้ พระยาอภัยสงครามและพระยาสงขลา (เถี่ยนจ๋อง)ผู้กำกับดูแลหัวเมืองมลายู แบ่งเมืองตานีออกเป็น ๗ หัวเมือง และแต่งตั้งให้พระยาเมืองเป็นผู้ปกครองตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๕๙ เป็นต้นมา ได้แก่

                ๑.  เมืองปัตตานี ต่วนสุหลง เป็นเจ้าเมือง

                ๒.  เมืองยะหริ่ง นายพ่าย เป็นเจ้าเมือง

                ๓.  เมืองสาย นายนิเดะห์ เป็นเจ้าเมือง

                ๔.  เมืองหนองจิก ต่วนนิ เป็นเจ้าเมือง

                ๕.  เมืองระแงะ นิดะห์ เป็นเจ้าเมือง

                ๖.  เมืองรามันห์ ต่วนมันโซร์ เป็นเจ้าเมือง

                ๗.  เมืองยะลา ต่วนยาลอร์ เป็นเจ้าเมือง

                ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๕๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธหล้านภาลัย ได้แยกหัวเมืองต่างๆ ทางภาคใต้ เป็น ๗ หัวเมือง และหมู่ บ้านดุซงญอ อันประกอบไปด้วยสุคิริน บองอ บือโลง (รัฐเปรัฐ) อยู่ภายใต้การปกครองของเมืองระแงะ นิดะห์ เป็นเจ้าเมืองอยู่ในสมัยนั้น โดยมีพระตำหนักอยู่ที่บ้านตันหยงมัส ในปัจจุบัน‘’ดุซงญอ ‘’เป็นชื่อของ สวนเจ้าพระยาเมืองระแงะ ตามประวัติ เจ้าเมืองระแงะ จะเสด็จไปเยี่ยมสวนที่หมู่บ้าน ‘’ลือแฆ๊ะ ‘’(อยู่ใน เขตอำเภอสุคิริน) โดยใช้พาหนะช้างในการเดินทางตามเส้นทางระแงะ-สุคิริน จนชาวบ้านในสมัยนั้นจะเรียกเจ้าเมืองระแงะว่า (รายอลือแฆ๊ะ) และขากลับจะแวะที่บ้านดุซงญอ (สวนเจ้าพระยา) และจะเสด็จ เป็นประจำ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๙ เจ้าเมืองระแงะ ได้มอบหมายให้ นายดาโอ๊ะ แมเราะ เป็นผู้นำหมู่บ้านดูและบ้านดุซงญอประกอบด้วยหมู่บ้าน ต่างๆ ดังนี้ บ้านดุซงญอ บ้านจะแนะ บ้านมาโมง บ้านกุมุง บ้านรือเปาะ บ้านกาแย และแมะแซ ในสมัยนั้น ดุซงญอเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคม ทางบกและทางน้ำ มีการติดต่อค้าขาย อันมีชาวจีน เป็นพ่อค้าใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๙ นายอูมา เจ๊ะเต๊ะ เป็นบุตรของนายเจ๊ะเต๊ะ ซึ่งนายเจ๊ะเต๊ะ ภูมิลำเนาเดิม มาจากบ้านยะกัง อำเภอเมือง จังหวัด นราธิวาส มีบุตรทั้งหมด 5 คน ประกอบด้วย นายเจ๊ะหลง นายเจ๊ะเลาะ นายหะมะ และ นายอาบู ได้รับการแต่งตั้งเป็นแม่กองส่วน ท้องถิ่นในสมัยนั้น (ชาวบ้านเรียกว่าโต๊ะแมกอง) เป็นผู้นำหมู่บ้านแทน ได้ดูแลในเรื่องการปรับปรุงเส้นทางการคมนาคม ทางน้ำ เส้นทางไปตันหยงมัส และเส้นทางน้ำไปยังบ้านมาโมง (สุคิริน) ท่านได้เสียชีวิตเนื่องจากป่วยเป็นไข้หนัก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖ นายโต๊ะ กาพอ ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งแม่กอง ผู้นำหมู่บ้าน เนื่องจากไม่มีผู้ที่มีความเหมาะสม ในการเป็นผู้นำประกอบ นายโต๊ะ กาพอ ก็อายุมากแล้ว เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ นายโต๊ะขาลี เจ๊ะเต๊ะ เป็นบุตรอของนายอูมา เจ๊ะเต๊ะ ซึ่งนายอูมา เจ๊ะเต๊ะ มีบุตรทั้งสิ้น ๖ คน ประกอบด้วย นาง แมะนา นางแมะซา นายขาลี นางสะตีหม๊ะ นางสะนอ และ นางแลฆอ ได้รับการแต่งตั้งเป็นแม่กองดูและหมู่บ้านดุซงญอ อีกทั้ง ปกครองหมู่บ้านให้มีความสงบสุข ให้ความร่วมมือกับทางราชการมาด้วยดี เช่น การก่อตั้งสถานศึกษา การปรับปรุงซ่อมแซมเส้น ทางการคมนาคมในสมัยนั้น จนท่านอายุมากวัย 84 ปี จึงมอบหมายให้นายมาหะมะ เจ๊ะเต๊ะ ซึ่งเป็นบุตร ให้ดูแลกิจการบ้านเมืองต่อ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงยุบเลิกมณฆลปัตตานี คงสภาพเป็นจังหวัด ยุบจังหวัดสายบุรีเป็นอำเภอตะลุบัน และแบ่งพื้นที่บางส่วนของสายบุรี คือระแงะ และบาเจาะ ไปขึ้นกับจังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๖ ได้ใช้ระเบียบบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยามปกครองเป็นจังหวัดและอำเภอ หมู่บ้านดุซงญอ ได้มีการพัฒนาหมู่บ้าน โดยก่อสร้างโรงเรียนขึ้นที่บูกิตยือแร โดยนายเพียร นะมาตรซึ่งเป็นนายอำเภอระแงะ ได้ เกณฑ์เด็กเข้าเรียนชั้น ป.1-4 มีนายสมหวัง อามิง เป็นครูใหญ่ และมีลูกศิษย์นายมาหะมะ เจ๊ะเต๊ะ ต่อมาได้เป็นกำนันตำบลดุซงญอ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙ นายมาหะมะ เจ๊ะเต๊ะ หรือนายประพัฒน์ เจตาภิวัฒน์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน และเป็นกำนันตำบลดุซงญอ โดยขึ้นกับอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๙–๒๔๙๐ ได้มีโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา ได้มาระรานชาวบ้านดูซงญอปล้นสะดม ยิงชาวบ้านที่ขัดขืน จับชาว บ้านเป็นเชลยเพื่อหามของไปยังหมู่บ้านบือโลง (รัฐเปรัฐ) มาเลเซีย และในจำนวนนี้ท่านกำนันมาหะมะ เจ๊ะเต๊ะ ได้ถูกจับเป็นเชลยด้วย เมื่อมาถึงหมู่บ้านมือแนกาแย ท่านหลอกล่อโจรจีนคอมมิวนิสต์ หลบหนีได้สำเร็จ เมื่อปี วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๑ เกิดกบฏดุซงญอ สืบเนื่องจากเกิดความเข้าใจผิด ที่มีผู้คนกลุ่มหนี่ง ได้รวมตัวกันเพื่อต่อสู้ กับโจรจีนคอมมิวนิสต์ ที่หมู่บ้านตือกอ เขาวัว (ฆูวอลือมู) มีหัวหน้าชื่อโต๊ะเปรัฐ และนายมะกาแร ได้มาสอนเกี่ยวกับการต่อสู้โดย ใช้เวทมนต์ โดยการอาบน้ำมันชโลมตัว ตำรวจจึงได้ปิดล้อมมีการต่อสู้กัน และมีการปะทะกันจนทำให้กลุ่มดังกล่าวเสียชีวิต ๑๗ ศพ บาดเจ็บ ๓๐ คน ภายหลังชาวบ้านเรียกว่าสงคราม ญาลา (ญาซัลญาลา ลิวัลอิกรอม) เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕ กำนันได้ประชุมชาวบ้านเพื่อก่อสร้าง มัสยิดมูฮำมาดีดุซงญอ โดยได้มอบหมายให้โต๊ะอีหม่ามอาบีดีน ตาปู (ปะ จูบีดีง) เป็นผู้ดูแลในการก่อสร้าง ได้ศึกษาแบบสถาปัตยกรรมจากมัสยิดในอลาสต้า รัฐเคดาห์ มาเลเซีย ได้จ้างสถาปนิก นายแวเลาะ เยาะ เป็นผู้ก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ บ้านเมืองมีความสงบ กำนันได้เกณฑ์ชาวบ้าน จัดหากองทุนในการสร้างถนนสายบ้านดุซงญอ–ตันหยงมัส ได้ ก่อตั้งบริษัทดุซงญอการทาง โดยได้รับสัมปทานจากรัฐบาล ๒๐ ปี กำนันมาหะมะ เจ๊ะเต๊ะ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น นายประพัฒน์ เจตาภิ วัฒน์ ท่านมีความคิดในการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเจริญ ได้ก่อตั้งธนาคารกรุงไทย สาขาตันหยงมัส สร้างศูนย์พัฒนาหมู่บ้าน วางผังเมือง และสร้างอนามัยเพื่อรักษาคนเจ็บไข้ได้ป่วย ได้รับยกย่องจากรัฐบาลเป็นอย่างมากจึงได้รับการคัดเลือกไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น และท่านได้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ที่หมู่บ้านไอกรอส ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒ นายหะยีอารง บาโด ซึ่งเป็นลูกเขยของนายประพัฒน์ เจตาภิวัฒน์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกำนันตำบลดุซงญอ ได้ ร่วมกับชาวบ้านในการพัฒนาหมู่บ้าน ท่านรับผิดชอบตำบลดุซงญอ และน้องชายท่านนายอาหะมะ บาโด เป็นกำนันตำบลจะแนะ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ บ้านดุซงอยกฐานะเป็นตำบลดุซงญอ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอระแงะ ต่อมาได้แยกเป็นตำบลดุซงญอ กิ่ง อำเภอจะแนะ คำว่า”ดุซงญอ” หมายถึงชื่อของสวนเจ้าของเมืองระแงะที่ได้มาทำสวนในพื้นที่บ้านดุซงญอ จึงได้เอาชื่อมาตั้งเป็นชื่อตำบลตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา